TH EN

ประเภทของขยะ

ขยะทั่วไป
ขยะประเภทอื่นนอกเหนือจากขยะ ย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย
ขยะอินทรีย์
สิ่งที่ย่อยสลายได้ง่าย สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เศษอาหาร
ขยะรีไซเคิล
วัสดุเหลือใช้ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ เศษพลาสติก
ขยะอันตราย
วัตถุมีพิษ วัตถุกัดกร่อน วัตถุติดเชื้อและวัตถุไวไฟ
กากอุตสาหกรรม
ของเสียหรือสิ่งที่ไม่ใช้แล้วที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน ที่อยู่ในสภาวะของแข็ง ของเหลว กึ่งแข็ง กึ่งเหลว และก๊าซ

การคัดแยกขยะ

1
ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานต่าง ๆ ภายในโรงงานให้แยกทิ้งใส่ถังขยะซึ่งมีลักษณะตามที่กำหนดในประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง หลักเกณฑ์ทางวิชาการเกี่ยวกับคุณลักษณะของถุงพลาสติกใส่มูลฝอย และที่รองรับขยะมูลฝอย แบบพลาสติกที่ใช้ในที่สาธารณะ และสถานที่สาธารณะ ดังต่อไปนี้
2
เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ร่วมกันดูแลสถานที่ให้มีการจัดตั้งภาชนะสำหรับ รองรับขยะมูลฝอย แบบแยกประเภทให้เพียงพอรองรับขยะที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มบริษัทท่าฉางกรีนเอ็นเนอร์ยี่
3
สถานที่เก็บรวบรวมขยะมูลฝอย ให้ดำเนินการดังนี้
  • ขยะอันตราย เก็บรวบรวมไว้ในถังขยะสีแดง ณ ห้องเก็บของเสียอันตราย ระบุชื่อหรือป้ายขยะอันตราย จุดรวบรวมขยะอันตรายถูกแบ่งไว้โดยเฉพาะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกและต้องอยู่ในตำแหน่งที่สะดวกต่อการขนย้ายเพื่อส่งกำจัด
  • ขยะรีไซเคิล เก็บรวบรวมไว้ในภาชนะรองรับขยะรีไซเคิล ณ จุดรวบรวมขยะรีไซเคิล มีการจัดเก็บอย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการ และกฎหมาย โดยแยกภาชนะรองรับขยะรีไซเคิล ประเภทต่าง ๆ และระบุชื่อ เช่น ขวดพลาสติกใส พลาสติกอื่น ๆ เป็นต้น จุดรวบรวมขยะรีไซเคิลถูกจัดแบ่งไว้โดยเฉพาะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกและต้องอยู่ ในตำแหน่งที่สะดวกต่อการขนยายเพื่อนำไปจัดการต่อไป
  • ขยะทั่วไป เก็บรวบรวมไว้ในภาชนะรองรับขยะทั่วไป ในพื้นที่กลุ่มบริษัทท่าฉางกรีนเอ็นเนอร์ยี่ และขนย้ายไปยัง จุดรวบรวมขยะทั่วไปในพื้นที่ของกลุ่มบริษัท ท่าฉางสวนปาล์มอุตสาหกรรม ซึ่งได้มีการทำสัญญาการส่งขยะมูลฝอยทั่วไปไปกำจัดกับบริษัท เอสอาร์ที พาวเวอร์ กรีน
  • ขยะอินทรีย์ เก็บรวบรวมไว้ในภาชนะรองรับขยะอินทรีย์ ณ จุดรวบรวมขยะอินทรีย์ มีการจัดเก็บอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ จุดรวบรวมขยะอินทรีย์ ถูกจัดแบ่งไวโดยเฉพาะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกและต้องอยู่ในตำแหน่งที่สะดวกต่อการขนยายเพื่อนำไปจัดการต่อ

ขั้นตอนในการปฏิบัติการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม

1

ขั้นตอนการดำเนินการในบริษัท

ประกาศแต่งตั้งคณะทำงานการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม
จัดทำนโยบายการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม
จัดทำทะเบียนบัญชีรายชื่อกากของเสียอุตสาหกรรมที่โรงงานก่อกำเนิด
ส่งตรวจวิเคราะห์ค่าความปนเปื้อนของกากของเสียอุตสาหกรรม
2

การดำเนินการตามกฎหมาย

  • ขออนุญาตเก็บของเสียไม่เกิน 90 วัน (สก.1)
  • ขออนุญาตนำของเสียออกนอกโรงงาน (สก.2)
  • ยื่นหนังสือขอความเห็นชอบกรณีที่ต้องการจัดการของเสียเอง ภายในบริเวณโรงงาน
  • มีผู้ควบคุมดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อม
  • ทำแผนป้องกันอุบัติภัยรองรับเหตุฉุกเฉิน
  • มีใบกำกับการขนส่งของเสียอันตราย
  • แจ้งการขนส่งของเสียทุกชนิดทางอิเล็กทรอนิกส์
  • เก็บผลวิเคราะห์ 3 ปี
  • ส่งรายงานประจำปี (ข้อมูล 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. ของปี ต้องส่ง 1 ม.ค. - 1 มี.ค. ของปีถัดไป) (สก.3)

Document Download

Waste Management and Industrial Waste
Download Download